วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา




1. โครงสร้างของโปรแกรมภาษา Pascal
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ;
รูปแบบ
PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์);ตัวอย่าง
PROGRAM EXAM1;
PROGRAM EXAM1(INPUT,OUTPUT);

2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้
2.1 VAR เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลให้แก่ตัวแปร
รูปแบบ
VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล;
2.2 TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่
รูปแบบ
TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล;
ตัวอย่าง
TYPE SCORE = INTEGER;
WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI);
VAR TEST, MIDTERM, FINAL : SCORE;
DAY : WEEK;
2.3 CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่
CONST รายชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด;
2.4 LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม
LABEL รายชื่อของ LABEL;
ตัวอย่าง
LABEL 256,XXX;
เช่น GOTO 256; GOTO XXX;
3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
ตัวอย่าง
BEGIN
Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ;
END.

2. โครงสร้างของโปรแกรมภาษา C
โครงสร้างของภาษา C  ทุกโปรแกรมของภาษา C มีโครงสร้างเป็นลักษณะดังรูป



 









                                                                                                                 
3. โครงสร้างของโปรแกรม Basic
โดรงสร้างในการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic


4. โครงสร้างของโปรแกรม Assembly

 

 คำ สั่งในภาษาแอสแซมบลี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกกำหนดการทำงาน เรียกว่า OP-CODE (Operation Code) ส่วนที่สองเรียกว่า Operand มีหน้าที่กำหนดเกี่ยวกับข้อมูล OP-CODE อยู่ในไบท์แรกของคำสั่งภาษาแอสแซมบลีแทนด้วยตัวอักษร ส่วนภาษาเครื่องแทนด้วยเลขฐาน 2 สองบิทแรก ในไบท์นี้เป็นตัวกำหนดความยาวของคำสั่งนั้นด้วย 
5. โครงสร้างของโปรแกรม Java
1. เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
1.1 Comment คือ ข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม วิธีการคือ
- comment ทีละ บรรทัด ใช้เครื่องหมาย // ตามด้วยข้อความที่ต้องการ comment เช่น
//comment comment
- comment แบบครอบทั้งข้อความ ใช้เครื่องหมาย /* ข้อความที่ต้องการ comment */ เช่น
/*
Comment
Comment
*/
1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น
1.3 Identifiers คือ ชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น
1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา มีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมาย () ใช้สำหรับ
1. ต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameter
เช่น private void hello( );
2. ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,do
เช่น if ( i=0 )
3. ระบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ casting
เช่น String a=( String )x;
- เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับ

กำหนดขอบเขตของ method แล class
เช่น class A{
}
Private void hello(){
}
2. กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Array
เช่น String a[]={"A","B","C"};

- เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับ
1. กำหนดตัวแปรแบบ Array
เช่น String a[ ];
2. กำหนดค่า index ของตัวแปร array
เช่น a[ 0 ]=10;
- เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยค
เช่น String a ;
- เครื่องหมาย , ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อตัวแปรในประโยค
เช่น String a , b , c;
- เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อ package,subpackage และชื่อ class
เช่น package com.test.Test1;
2. ใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ method ของ Object
เช่น object.hello();

6. โครงสร้างของโปรแกรม Cobol
                โครงสร้างโปรแกรม Cobol
DENTIFICATION DIVISION
  • ชื่อโปรแกรม
  • ชื่อผู้เขียนโปรแกรม
  • วันที่เขียนโปรแกรม
ENVIRONMENT DIVISION
  • รายละเอียดของตัวเครื่อง(CONFIGURATION SECTION)
  • รายละเอียดสิ่งที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล(INPUT/OUTPUT SECTION)
DATA DIVISION
  • รายละเอียดของแฟ้มข้อมูล(FILE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลอื่น ๆ(WORKING-STORAGE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลที่รับมาจากโปรแกรมอื่น ๆ(LINKAGE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลที่ให้แสดงบนจอภาพ
PROCEDURE DIVISION
  • PARAGRAPH 1
  • PARAGRAPH 2
  • PARAGRAPH 3-------[STATEMENT I;I' = 1(N)1
ไดอะแกรมแสดง โครงสร้างโปรแกรมภาษาโคบอล จากไดอะแกรม ที่แสดงโครงสร้างของโปรแกรมภาษาโคบอลจะเห็นว่า ได้แบ่งตัวโปรแกรมออกเป็น 4 ส่วน ในแต่ละส่วนเราเรียกว่า Division
ในแต่ละ Division มีชื่อดังต่อไปนี้
-                    IDENTIFICATION DIVISION. - ENVIRONMENT DIVISION.                                                                
-                    DATA DIVISION.                        - PROCEDURE DIVISION.